หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

จุดประสงค์การเรียนรู้

กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ

ใช้กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ประยุกต์ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ

สาระการเรียนรู้ช่วงสั้น

1. กระบวนการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์
2. การประยุกต์การใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี


จุดเน้น

ใช้กระบวนและการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
รายละเอียดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ขอบข่ายสาระการเรียนรู้

1. การรับรู้
2. ประสบการณ์
3. จินตนาการ

การสร้างสรรค์ภาพที่ไม่แสดงรูปแบบ

1. การสร้างสรรค์ด้วยสี
2. การลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริง


การสร้างสรรค์ภาพที่แสดงรูปแบบ

1. การเขียนภาพคน
2. การเขียนภาพสิ่งแวดล้อม
3. การเขียนภาพการดำเนินชีวิตสังคมและภาพจินตนาการ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ใช้กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์และประยุกต์ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบ




1. กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ



การสร้างสรรค์งานศิลปะ มีกระบวนการหรือขั้นตอนตามลำดับ โดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้ หรือสัมผัสกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม นำมาสู่การสร้างประสบการณ์ หรือความชำนาญแล้วจึงเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานศิลปะที่แปลกใหม่ต่อไป ซึ่งมีขั้นตอนในขั้นรายละเอียดดังนี้

1. การรับรู้ (Perception)

           การรับรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ รับรู้และชื่นชมในธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ได้แก่การสัมผัสรอบรู้ด้วยประสาทตาในการมองเห็นความงามของธรรมชาติ และการสัมผัสด้วยประสาทหู ในการยินเสียงจากธรรมชาติ หรือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ภาพและเสียงเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์สร้างสรรค์งานศิลปะ เช่น เขียนภาพบันทึกความงามและความรู้สึกจากธรรมชาติ แต่งเพลงหรืบรรเลงเพลงดนตรี บรรยายความงามของธรรมชาติ หรือเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นต้น

2. ประสบการณ์ (Experience)

           ประสบการณ์ หมายถึง การที่มนุษย์ผ่านภาวการณ์รับรู้ ได้เห็น ได้ฟัง และได้ปฏิบัติด้วยตนเองมาแล้วบ่อยครั้งจนสะสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ เช่น ศิลปินที่มีใจรักและชื่นชมความงามของธรรมชาติมักจะเข้าไปสัมผัสชื่นชมกับความงามของธรรมชาติเหล่านั้น และนิยมถ่ายทอดความงามด้วยการเขียนภาพ จึงเกิดประสบการณ์และความชำนาญในการเขียนภาพธรรมชาติเป็นพิเศษนักเรียนที่เรียนวิชาศิลปะทุกคน สามารถที่สร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากชีวิตประจำวันของตนได้อย่างมี
อิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงทักษะฝีมือมากนัก หากแต่การที่นักเรียนสามารถเขียนภาพบันทึกประสบการณ์อย่างตรงไปตรงมาได้นั้น คือ ความงดงามที่มีคุณค่ายิ่งนัก

3. จินตนาการ (Imagination)

           จินตนาการ หมายถึง การคิดสร้างภาพในจิตใจก่อนที่จะสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานศิลปะ โดยมีพื้นฐานมาจากการได้สัมผัสรับรู้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม จนเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สะสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ ขยายผลเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยการจิตนาการ มิใช่เป็นการถ่ายทอดจากประสบการณ์และจากสิงที่ตามองเห็นเท่านั้น แต่เป็นการแสดงออกจากภายในสู่ภายนอก สะท้อนความคิดสร้างสรรค์อิสระและหลากหลาย



2. การสร้างสรรค์ภาพที่ไม่แสดงรูปแบบ




ภาพที่ไม่แสดงรูปแบบ หมายถึง ภาพที่ไม่คำนึงถึงรูปลักษณะที่ปรากฏแก่สายตาว่าเป็นภาพอะไร แต่จะให้ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้เขียนด้วยการใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรง ผสมผสานกันเป็นเรื่องราวหรือไม่เป็นรูปร่างก็ได้ เช่น การสร้างสรรค์ด้วยสี การหยด การแต้ม การเขียนภาพตามจังหวะดนตรี และการเขียนภาพตามจินตนาการ เป็นต้น

ภาพที่ไม่แสดงรูปแบบ สามรถสร้างสรรค์ได้ ลักษณะ คือ 


1. การสร้างสรรค์ด้วยสี
2. การลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริง



1. การสร้างสรรค์ด้วยสี

           การสร้างสรรค์ด้วยสี หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้สีอย่างอิสระ ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ เช่น วิธีการขูด เขียน ถูเป็นเส้นหรือริ้วรอย ผสมผสานกับสีที่หยดหรือแต้มลงไป ทั้งนี้ เน้นวิธีการสร้างสรรค์และการแสดงออกอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินโดยไม่คำนึงว่าจะได้ภาพที่เป็นรูปลักษณะใด

2. การลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริง

           การลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริง หมายถึงการนำภาพเหมือนจริงมาลดทอน บางส่วนของภาพให้น้อยลง มีรูปร่างแตกต่างไปจากเดิม และมีความเป็นอิสระในการระบายสีเชิงสร้างสรรค์ได้มากขึ้นวิธีการลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริง มีดังนี้

           1) วิธีการลดทอนด้วยการเปลี่ยนสีใหม่ คือ เปลี่ยนสีในรูปร่าง รูปทรงเดิม ให้แตกต่างไปจากของจริงตามแนวเบื้องต้นทำให้ภาพเหมือนจริงแปรสภาพไปเป็นการใช้สีอย่างสร้างสรรค์ แสดงการลดทอนด้วยการเปลี่ยนสีใหม่
           2) การลดทอนภาพด้วยการใช้เส้นและสีเปลี่ยนรูปทรงเดิม หมายถึง การใช้เส้นและสีมาสร้างสรรค์ตามสัดส่วนของภาพเหมือนจริง เช่น ลากเส้นจากรูปทรงเดิมอย่างอิสระแล้วระบายสีหรือประจุดด้วยสีให้มีน้ำหนักแตกต่างไปจากภาพเดิม จะเป็นการลดทอนภาพได้อีกวิธีหนึ่ง
          3) การลดทอนภาพด้วยการลดรูปทรงและรายละเอียด หมายถึง การลดทอนรูปภาพจากของจริง โดยตัดทอนรายละเอียดให้เหลือส่วนที่สำคัญไว้เท่านั้น วิธีง่ายๆ อาจใช้เส้นร่างวาดทับรูปภายนอก ให้เหลือเส้นรอบนอก (Outline) หรือ รูปร่าง (Shape)ลดทอนรูปทรงให้เหลือเฉพาะส่วนที่สำคัญ คือ จุดเด่นของภาพ โดยนำมาจัดวางใหม่



           นอกจากนี้ที่กล่าวมาแล้วเรายังลดทอนภาพไม่ให้เหมือนจริงได้ในอีกหลายวิธี



3. การสร้างสรรค์ภาพที่แสดงรูปแบบ


ภาพที่แสดงรูปแบบ หมายถึง ภาพที่ปรากฏแก่สายตาเหมือนจริงตามที่เรามองเห็นภาพวัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของรูปร่าง รูปทรงเป็นอย่างไร ผู้เขียนภาพ สามารถถ่ายทอดออกมาได้เหมือนแบบ โดยแสดงรูปร่างรูปทรงที่แน่นอนเหมือนจริง และจะต้องคำนึงถึงความงามด้วย
ลักษณะภาพแสดงรูปแบบ มีดังนี้

           1. การเขียนภาพคน
           2. การเขียนภาพสิ่งแวดล้อม
           3. การเขียนภาพการดำเนินชีวิตในสังคมและภาพจินตนาการ

1. การเขียนภาพคน

           โครงสร้างของคนประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น ศีรษะ ลำตัว แขน และขา เป็นต้น แต่ละส่วนยังแยกย่อยออกไปได้อีกซึ่งจัดเป็นส่วนประกอบของภาพคน คือ คน หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า คอ สะโพก เป็นต้น เมื่อนำเอาส่วนประกอบซึ่งเรียกอีกอย่างว่าอวัยวะต่างๆ มาประกอบกันเข้าจะเกิดเป็นรูปร่างรูปทรงขึ้น การเขียนภาพโครงสร้างของคนจะต้องคำนึงถึง สัดส่วน การทรงตัวลีลา ท่าทาง การเคลื่อนไหว ซึงเป็นลักษณะสำคัญที่จะทำให้ภาพสมบูรณ์เหมือนจริง ขั้นตอนการเขียนภาพจะต้องคำนึงวิธีการดังนี้

           1.1 การเขียนส่วนต่างๆ ของภาพคน คือ การเขียนภาพอวัยวะของร่างกายแต่ละส่วน ก่อนที่จะเขียนภาพคนทั้งส่วน เช่นส่วนของหน้ามีหู ตา จมูก ปาก ส่วนของลำตัวมีหน้าอก สะโพก ส่วนของขามีเท้า ส่วนของแขนมีมือ เป็นต้น

           1.2 การเขียนภาพคน คือ การร่างภาพของคนให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน แล้วจึงเติมอวัยวะต่างๆ ที่เป็นรายละเอียดให้สมบูรณ์ โดยไม่ต้องเขียนเป็นขั้นตอน อาจใช้วิธีการง่ายๆ เป็นการร่างโครงสร้างคนแบบหัวก้านไม้ขีด เพียงแต่ให้ทรงตัวได้ก่อน แล้วค่อยเพิ่มเติมรายละเอียดทีหลัง การเขียนภาพคนเป็นสิ่งยาก
เนื่องจากคนมีกี่เคลื่อนไหว ลีลา ท่าทางต่างๆ เช่น เดิน วิ่ง ยืน นั่ง นอน เป็นต้น
           การเขียนภาพคนมี ลักษณะ คือ
           1. การเขียนภาพคนครึ่งตัว คือ การเขียนภาพคนเหมือน (Portrait) เน้นความเหมือนจริงที่ใบหน้า
           2. การเขียนภาพคนเต็มตัว คือ การเขียนภาพคนทั้งตัว (Figure) เน้นลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวด้วยลีลาที่งดงามโครงสร้างของภาพคนมีความสำคัญไม่น้อย เพราะช่วยในเรื่องของการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว หรือขณะยืนอยู่กับที่ให้มีลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง
           การเคลื่อนไหวของภาพคน จะเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงของขาและแขน ซึ่งเป็นส่วนของข้อต่อ และกล้ามเนื้อทำหน้าที่เหยียด งอ หุบได้ ถ้าคนยืนตรงน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดจะลงอยู่ที่ขาอย่างเดียวเท่านั้น ในท่าเดินและท่าวิ่ง การโยกย้ายน้ำหนักของร่างกาย ให้สังเกตที่แขนและขาจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน เช่น แขนขวาแกว่งไปด้านหน้า ขาขวาและเท้าจะอยู่ด้านหลัง ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้







2.การเขียนภาพสิ่งแวดล้อม

           การเขียนภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเขียนสภาพทั่วไปที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ สัตว์ แม่น้ำ และทะเลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติและอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น บ้าน อาคาร ถนน รถยนต์ สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่พบเห็นเป็นประจำ จึงเป็นที่มาของการเขียนภาพทิวทัศน์บก ทิวทัศน์ทะเลภาพสิ่งก่อสร้าง และภาพสิ่งแวดล้อมของสังคม
           การเขียนภาพทิวทัศน์ ควรประกอบ ควรประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้
           1. เส้นระดับสายตา (Horizontal Line) หรือเรียกว่าเส้นขอบฟ้า เป็นเส้นแนวนอนกั้นระหว่างพื้นดินกับขอบฟ้า เป็นการกำหนดเส้นระดับสายตาเพื่อวางแผนการเขียนภาพว่าต้องการแสดงส่วนใดมากกว่า เช่น ต้องการให้เห็นพื้นดินมากกว่าท้องฟ้าหรือให้เห็นภาพท้องฟ้ามากกว่าพื้นดิน

           2. ระยะ (Distance) เป็นภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระยะใกล้จนถึงระยะไกล ซึ่งผู้เขียนต้องการแสดงระยะในภาพแบ่งได้เป็น ระยะ คือ ระยะใกล้ ระยะกลาง ระยะไกล ภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระยะใกล้ตัวผู้เขียนจะมีขนากใหญ่ สี รูปทรง แสงเงาจะชัดเจน ส่วนภาพที่อยู่ห่างไกลออกไปสีและรูปทรงจะค่อยๆ เบาบางและจางลง สีจะเข้ากับบรรยากาศของท้องฟ้าที่เป็นฉากหลังถือเป็นไกลที่สุด

           3. จุดรวมสายตา (Vanishing Point) หมายถึง แนวสายตาจากวัตถุไปสู่จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นระดับสายตา ทำให้วัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่เขียนเกิดระยะต่างกัน การเขียนจุดรวมสายตามี หรือ จุดก็ได้
 การเขียนภาพทิวทัศน์ในที่โล่งแจ้ง มองภาพกว้างไกลจะทำให้การจัดภาพเกิดความยุ่งยาก จึงมีวิธีที่จะกำหนดได้ง่ายๆคือ ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 15x18 ซม. แล้วตัดแยกออกเป็นรูปตัว L (แอล) ทั้งสองด้านนำมาประสานกัน ให้เหลือขนาด 10x13 ซม. โดยเจาะเป็นช่องอีก ช่อง เท่าๆ กัน โดยเจาะเป็นรูสำหรับมองทิวทัศน์ข้างหน้า เพื่อนำมาจำลองในการวาดภาพต่อไป วิธีนี้จะช่วยหามุมมองการเขียนภาพทิวทัศน์ได้ง่ายขึ้น คือ กำหนดให้มีจุดเด่น จุดรอง และความสมดุลของภาพผู้เขียนควรรู้จักดัดแปลงภาพให้มีส่วนประกอบอื่นเพิ่มขึ้นได้ หรือตัดทอนบางส่วนที่ยุ่งยากออกไปเพื่อให้เกิดความสมดุลความเหมาะสม ทั้งนี่เพื่อต้องการให้ภาพมีความสวยงาม

3. การเขียนภาพการดำเนินชีวิตในสังคมและภาพจิตนาการ


           การเขียนภาพการดำเนินชีวิตในสังคมและจินตนาการภาพ คือ การเขียนภาพจากเหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่ปรากฏในสังคม เช่น การเขียนภาพจากเหตุการณ์ หรือกิจกรรมในสังคม เช่น ภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ภาพเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา และภาพสร้างสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการ ภาพเหล่านั้นอาจเป็นจริงหรือเกินความเป็นจริงก็ได้ การเขียนภาพจะต้องคำนึงถึงการจัดภาพเป็นหลักว่าส่วนใดเป็นจุดเด่น และส่วนรอง และตามความสำคัญของเนื้อเรื่อง

           การเขียนภาพการดำเนินชีวิตในสังคมและภาพจินตนาการมี ดังนี้

           1) การเขียนภาพจากความทรงจำ หมายถึง การสร้างจินตนาการจากเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือนิยาย ซึ่งมีเค้าเรื่องเป็นความจริง ส่งเสริมให้เห็นความประทับใจ ซาบซึ้งในคุณค่าและคุณธรรมต่างๆ ตัวอย่าง เช่น ครอบครัวของฉัน มาร่วมกันพัฒนาโรงเรียน ครั้งหนึ่งในชีวิต การส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น
           2) การเขียนภาพการดำเนินชีวิตในสังคม หมายถึง การถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมออกมาเป็นรูปภาพตามความเป็นจริงของชุมชนในสังคม เช่น อาชีพ การปกครอง โรงเรียนของเรา บ้านของฉัน เป็นต้น
           3) การเขียนภาพจากขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม หมายถึง การถ่ายทอดภาพ ขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นที่เคยประสบ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ประเพณีต่างๆ การเขียนภาพแบบศิลปะประจำชาติ เป็นต้น


  4) การเขียนภาพจากจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การเขียนภาพที่ใช้ความคิดให้แปลกไปจากเดิมเป็นเรื่องใหม่ๆ ซึ่งอาจมีจริงหรืออาจเกินความเป็นจริงก็ได้ ทั้งนี้ ควรเป็นความคิดอย่างอิสระของแต่ละบุคคล การเขียนภาพเหล่านี้ต้องอาศัยธรรมชาติเป็นแนวทางก่อน แล้วค่อยดัดแปลงให้แปลกตาท้าทายความรู้สึกของผู้ดู เช่น การผจญภัยในต่างพิภพ ท่องเที่ยวไปในโลกดาวอังคาร โทษภัยของยาเสพติด เป็นต้น








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น