หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

จุดประสงค์การเรียนรู้

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานศิลปะ

           คิดริเริ่มดัดแปลงใช้ทัศนธาตุและองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ รูปแบบวิธีการ เทคนิคใหม่ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์ ตามความถนัดและความสนใจ

สาระการเรียนรู้ช่วงสั้น

1. คิดริเริ่มดัดแปลงใช้ทัศนธาตุ และองค์ประกอบทัศนศิลป์
2. เทคนิควิธีการรูปแบบใหม่ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์

จุดเน้น

           คิดริเริ่มดัดแปลงใช้ทัศนธาตุ และองค์ประกอบทัศนศิลป์
รายละเอียดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ขอบข่ายสาระการเรียนรู้

กระบวนการสร้างสรรค์งานพาณิชยศิลป์
1. การเขียนภาพสเกตช์
2. การเขียนตัวอักษรและลวดลายในงานพาณิชยศิลป์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

           คิดริเริ่มดัดแปลงใช้ทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์ เทคนิค วิธีการรูปแบบใหม่ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์ ตามความถนัดและความสนใจ




1. การเขียนภาพสเกตซ์ (Sketches)


เป็นลักษณะการเขียนภาพร่างหยาบๆ เพื่อกำหนดโครงสร้างขนาดสัดส่วนคร่าวๆ ของการเขียนภาพทุกชนิด เช่นการเขียนภาพสเกตช์หุ่นนิ่ง ภาพสเกตช์ทิวทัศน์ ภาพสเกตช์คนเหมือน ภาพสเกตช์งานออกแบบตกแต่ง เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการเขียนภาพสเกตช์งานพาณิชยศิลป์เท่านั้น

ประโยชน์และคุณค่าของการเขียนภาพสเกตช์

1. ทำให้เกิดความฉับไว้ คล่องตัวในการร่างภาพ
2. ทำให้เกิดความแม่นยำในเรื่องขนาด สัดส่วน
3. ทำให้การจัดองค์ประกอบภาพทำได้ง่ายขึ้น
4. นำไปสู่การเขียนรายละเอียดที่ถูกต้อง คมชัด

วิธีการเขียนภาพสเกตช์



มีวิธีการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ร่างเส้นรอบนอก (Out line) ของวัตถุที่มีอยู่ทั้งหมดของในภาพ หรือในแบบ 
2. ร่างเส้นรอบนอกของวัตถุที่เด่นที่สุดในภาพ 

3. เขียนเส้นรอบนอกของวัตถุทุกชิ้นที่มีอยู่ในภาพหรือในแบบ ลบเส้นรอบนอกแล้วเน้นขนาด สัดส่วน รายละเอียดความคมชัด



การวาดเส้นรายละเอียด (Drawing Detail)



การวาดเส้นรายละเอียด เป็นการวาดเส้นที่เน้นความคมชัด แสดงรายเส้นที่เด็ดขาด ชัดเจน สวยงามให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นสำคัญอาศัยความประณีตบรรจง สุขุมเยือกเย็น และมีสมาธิสูง การวาดเส้นรายละเอียดมีขั้นตอนเหมือนกับการเขียนภาพสเกตซ์ หรือการเขียนภาพทั่วๆ ไป










ขั้นตอนที่ 1



ขีดเส้นดิ่ง ร่างโครงร่างภายนอก



ขั้นตอนที่ 2


เน้นเส้นเพื่อให้เกิดรูปทรง



ขั้นตอนที่ 3


เน้นน้ำหนัก แสงเงา ความคมชัด


การสเกตซ์ภาพหยาบ (Rough Sketches)

           สเกตซ์ภาพหยาบ เป็นการสเกตซ์ภาพแบบรวดเร็ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงรูปร่าง รูปทรงให้มากนัก แต่คำนึงถึงความคมชัดความสมดุล ความเด็ดขาด แม่นยำ และอารมณ์ความรู้สึกของเส้น รวมถึงการแสดงเรื่องราวได้อย่างกลมกลืน การสเกตซ์ภาพหยาบสามารถทำได้ทุกเวลาและสถานที่ แม้กระทั่งเวลาที่จำกัด นักเรียนก็สามารถทำได้ ขอเพียงให้มีความมั่นใจเท่านั้น

การตัดสินใจที่รวดเร็ว เป็นคุณสมบัติของการสเกตซ์ภาพแบบหยาบ


2. การเขียนตัวอักษรและลวดลายในงานพาณิชยศิลป์


ความหมาย

   ตัวอักษร คือ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในทางสายตา (Visual) ระหว่างมนุษย์ด้วยกันให้เข้าใจความหมายความต้องการของกันและกันได้

ประวัติความเป็นมา 

           มนุษย์รู้จักเขียนและประดิษฐ์ตัวอักษรมานานนับพันปีในยุคแรกๆ จะมีลักษณะรูปแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีความประณีตสวยงามและวิจิตรพิสดารแต่อย่างใด กาลเวลาผ่านไปตัวอักษรได้รับการพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงของการศึกษา เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม มีความหลากหลาย แปลกใหม่ ประณีต สวยงามและวิจิตรพิสดาร จากการเขียนและการออกแบบด้วยมันสมองของมนุษย์ ก็พัฒนามาเป็นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนและออกแบบตัวอักษร ทำให้ได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมาก



หลักการเขียนตัวอักษรในงานพาณิชยศิลป์



           ตัวอักษรจะมีคุณค่าทางความงาม มีรูปแบบที่หลากหลายสามารถนำไปใช้กับงานพาณิชยศิลป์ได้อย่างมีคุณค่า และได้รับประโยชน์สูงสุด มีหลักการดังนี้


           1. ขนาด (Size) หมายถึง ลักษณะของรูปที่กำหนด ขนาดตัวอักษรให้เหมาะกับเนื้อที่ เช่น ไม่เล็กเกินไป และไม่ใหญ่เกินไปจนคับที่
          

           2. สัดส่วน (Proportion) หมายถึง  ทรวดทรงของตัวอักษรที่เหมาะพอดีกับสัดส่วนในตัวอักษรของมันเอง ได้แก่ ส่วนสูงที่มีความสัมพันธ์กับส่วนกว้าง เช่น ตัวอักษรไม่อ้วนเตี้ย และไม่ผอมสูงเกินไป จนเป็นเหตุให้ขัดกับความรู้สึกแก่ผู้พบเห็น
           3. ระยะช่องไฟ (Space) หมายถึง ระยะห่างหรือระยะถี่ระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ตัวอักษรจะดูดี  มีความเป็นระเบียบและสวยงาม ควรวางระยะช่องไฟไม่ให้ถี่หรือห่างเกินไป มีระยะที่สม่ำเสมอ เหมาะสมกับงานพาณิชยศิลป์แต่ละชนิด


ช่องไฟห่างเกินไป
 
ช่องไฟถี่เกินไป


 
ช่องไฟที่ดี



4. ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึง การเข้ากันได้สนิท เข้ากันได้ดี ตัวอักษรจะมีคุณค่าทางความงามและดึงดูดความสนใจได้ดี ควรเป็นตัวอักษรที่อยู่ในพวกเดียวกัน มีความสัมพันธ์กลมกลืน เช่น อักษรหัวกลมด้วยกัน ไม่ใช่มีหัวอักษรเหลี่ยมหรืออักษรหัวตัดมาปะปนกัน

 ตัวอักษรที่เข้าพวก กลมกลืน


ตัวอักษรไม่เข้าพวก ขัดแย้ง


ตัวอักษรโค้งมน


 
  ตัวอักษรเหลี่ยม


 
 ความกลมกลืนของตัวอักษร


 
   ความกลมกลืนในรูปแบบและสีสัน



3. รูปแบบของตัวอักษร


รูปแบบของตัวอักษร มีมากมายหลายรูปแบบ


1. ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ คือ ตัวอักษรแบบคัดลายมือ ตัวบรรจง มีความประณีตสวยงาม สัญลักษณ์ความเป็นไทยเหมาะที่จะนำไปใช้กับงานเขียนบัตรอวยพร บัตรเชิญ เกียรติบัตร และประกาศนียบัตร เป็นต้น
          2. ตัวอักษรแบบหัวกลม คือ ตัวอักษรที่มีรูปแบบพื้นฐานอ่านง่าย สื่อความเข้าใจได้รวดเร็ว นิยมนำไปใช้กับงานของทางราชการ งานโฆษณาทั่วไป
           3. ตัวอักษรแบบริบบิ้น คือ ตัวอักษรที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงษ์ เป็นผู้ทรงออกแบบเป็นรูปแบบอักษรหัวตัด 45 องศา สามารถเขียนได้ด้วยปากกาสปีดบอล พู่กันแบน นิยมนำไปใช้ในงานออกแบบทั่วๆ ไป เช่น ป้ายชื่อสถานที่ราชการ บริษัท ห้างร้าน และงานโฆษณา

ตัวอักษรแบบหัวกลม


   
 ตัวอักษรริบบิ้นธรรมดา


   
     
  ตัวอักษรแบบอาลักษณ์

ตัวอักษรริบบิ้น คลาสิก


4. ตัวอักษรแบบประดิษฐ์ คือ ตัวอักษรที่สร้างสรรค์ได้หลากหลายไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์มีทั้ง มิติ และ มิติ นิยมนำไปใช้ในงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาบ้านจัดสรร โฆษณาหาเสียงโฆษณารณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ข้อความ หัวเรื่องและภาพประกอบ เป็นต้น


 แบบเรียบง่าย มิติ





 แบบมั่นคง มิติ


 อักษรประดิษฐ์ที่มีความอ่อนช้อย



โฆษณาสินค้า


การเขียนอักษรภาษาอังกฤษ


           การเขียนอักษรภาษาอังกฤษ ใช้หลักการเดียวกันกับการเขียนอักษรภาษาไทย คือ มีขนาด สัดส่วน ระยะช่องไฟความกลมกลืน และมีรูปแบบที่หลากหลาย ความแปลกใหม่สวยสะดุดตา


     
การเขียนอักษรภาษาอังกฤษในเชิงพาณิชยศิลป์


4. ลวดลาย (Pattern)


 ลวดลาย หมายถึง ลายเส้นและสีสันที่มีการประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางความงาม และนำไปใช้ประดับตกแต่งในงานศิลปะประเภทต่างๆ ทั้งในงานทัศนศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และงานศิลปะประยุกต์เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบตกแต่ง ออกแบบนิเทศศิลป์ และออกแบบพาณิชยศิลป์

           รูปแบบลวดลายในธรรมชาติของพืช สัตว์ แมลง ปรากฏการณ์จากธรรมชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งบันดาลใจให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการที่หลากหลายไม่มีที่สิ้นสุดต่อไปนี่เป็นรูปแบบลวดลายในธรรมชาติที่เราไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นเองได้ แต่มันก็เกิดขึ้นจากธรรมชาติจริงๆ

1. ลวดลายในพืช ได้แก่ ลวดลายในดอกไม้ ลวดลายในใบไม้ ลวดลายในเปลือกไม้
2. ลวดลายในแมลง ได้แก่ ลวดลายในปีก ส่วนหัว ดวงตา และลำตัวของแมลง เป็นต้น
3. ลวดลายในสัตว์ ได้แก่ ลวดลายในตัวสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน
4. ลวดลายที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝนตก ลวดลายของพื้นดินแตกระแหง เป็นต้น
5. ลวดลายจากรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ ลวดลายรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ครึ่งวงกลม เป็นต้น
6. ลวดลายในพาณิชยศิลป์ ปรากฏในงานโฆษณาหลายรูปแบบ มีทั้งที่ประกอบในตัวผลิตภัณฑ์สินค้า เครื่องหมาย การค้า ลวดลายประกอบตัวอักษร ลวดลายปรากฏในแผ่นภาพส่วนที่เป็นพื้นฉากไม่ว่าส่วนใดก็ตามจะต้องจัดวางตำแหน่งให้ถูกต้องตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

  ลวดลายปลาดาว


    ลวดลายที่เกิดขึ้นจากประจุไฟฟ้าในอากาศ


ตัวอักษรแบบอาลักษณ์


 ลวดลายที่เกิดขึ้นจากพื้นดินแตกระแหง


ลวดลายจากรูปทรงเรขาคณิต


การเขียนภาพระบายสีในงานพาณิชยศิลป์



           การเขียนภาพระบายสี หมายถึง การใช้สีหยด สลัด ระบายแต้มลงในภาพร่างบนพื้นระนาบ สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นภาพระบายสีโดยเน้นความงาม ความประสานสัมพันธ์กลมกลืนของสี แสง เงา และบรรยากาศเหมือนจริงเป็นสำคัญขั้นตอนที่ละขั้น (Step by Step) ในการเขียนภาพ ระบายสีภาพผลิตภัณฑ์สิ้นค้าชนิดต่างๆ ขั้นที่ ร่างภาพแล้วลงสีอ่อนเพื่อกำหนดแสงเงา ขั้นที่ ลงสีแสงเงาระยะกลาง ขั้นที่ ลงสีเงา เน้นรายละเอียด ความคมชัด และบรรยากาศของภาพ






ขั้นที่ 1     



ขั้นที่ 2    


       ขั้นที่ 3



 ขั้นที่ 1   



 ขั้นที่ 2      



ขั้นที่ 3


5. การเขียนภาพระบายสีในงานพาณิชยศิลป์


1. การระบายด้วยสีน้ำ


 สีน้ำเป็นสื่อวัสดุ นำไปใช้ในการระบายสีที่มีคุณสมบัติเด่นๆ ประการ คือ


 1.1 ลักษณะโปร่งใส เมื่อนำสีน้ำระบายบนกระดาษสีขาว สีจะสะอาดไม่หนาทึบ มีลักษณะโปร่งใส ไม่ควรระบายทับกันหลายครั้ง จะทำให้สีช้ำ หม่น ทึบแสง ควรระบายสีอ่อนก่อน แล้วจึงลงสีกลาง และสีเข้มตามลำดับ การทำให้สีน้ำเกิดความอ่อนแก่ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางผสมให้เกิดการเจือจาง ไม่ควรใช้สีขาวจะทำให้ทึบแสง
1.2 ลักษณะเปียกชุ่ม คุณค่าทางความงามขิงภาพสีน้ำก็คือความเปียกชุ่ม ซึ่งเป็นเทคนิคการระบายเปียกบนเปียก
1.3 คุณสมบัติแห้งเร็ว เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้น ควรมีการตัดสินใจที่ค่อนข้างรวดเร็วและมั่นใจในการระบายสีน้ำ
1.4 สีน้ำมีคุณภาพรุกรานและยอมรับ หมายถึง สีน้ำเมื่อถูกผสมน้ำและระบายบนพื้นกระดาษ สีน้ำจะไหลซึมไปผสมกับสีอื่นที่ระบายลงไปก่อนแล้ว แล้วที่ระบายลงไปก่อนก็ยอมให้ผสมกลมกลืนแต่โดยดี เป็นคุณสมบัติเด่นในคุณค่าของสีน้ำ

การนำสีน้ำไปเขียนภาพระบายสีในงานพาณิชยศิลป์ เนื่องจากสีน้ำมีคุณสมบัติโปร่งใส จึงสามารถระบายทับรอยเส้นหรืออาจว่างเว้นบางส่วนได้ตามต้องการ


2. การระบายด้วยสีโปสเตอร์

           สีโปสเตอร์เป็นสื่อวัสดุที่นำไปใช้ในการระบายสี มีคุณสมบัติทึบแสงสามารถระบายทับกันได้หลายครั้ง ทำให้สีเข้มเป็นสีอ่อน หรือสีแสงสว่างได้ โดยใช้สีขาวผสม เหมาะที่จะนำไปใช้ในงานออกแบบและสีโปสเตอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์



การนำสีโปสเตอร์ไปเขียนภาพระบายสีในงานพาณิชยศิลป์



การใช้สีดินสอ สีชอล์ก และสีอะคริลิก ในการเขียนภาพระบายสีงานพาณิชยศิลป์






การระบายผสมระหว่างสีอะคริลิกกับสีชอล์ก




  งานพาณิชยศิลป์ หากสังเกตให้ดี องค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงานของสินค้าและวัตถุประสงค์ของงาน นอกจากคำนึงถึงความเหมาะสมแล้วจะต้องให้เกิดความสวยงาม มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้คนพบเห็นเข้าใจง่ายนั่นคือ การออกแบบตัวอักษร การเลือกใช้สี ใช้ถ้อยคำ และลวดลายประกอบภาพที่เด่นสะดุดตา จึงจัดเป็นภาพที่มีคุณภาพ














































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น